หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ระบบต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อคืออะไร

หลายท่านคงสงสัยว่า “ต่อมไร้ท่อ” คืออะไร....ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) เป็นระบบที่สำคัญอย่างยิ่งในการ
ควบคุมการทำงานของร่างกาย  ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หรืออวัยวะ ที่มีหน้าที่สร้างและหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า  ฮอร์โมน (Hormones)  ฮอร์โมนเกือบทั่งหมดจะถูกขนส่งไปสู่อวัยวะทั่วร่างกายโดยทางระบบไหลเวียนโลหิต  แต่จะออกฤทธิ์หรือมีผลต่ออวัยวะหรือเซล บางชนิดเท่านั้น  อ่านเพิ่มเติม...

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พฤติกรรมของสัตว์

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน การตอบสนองอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออกหรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตด้วย

1.       ความหมายของพฤติกรรม
พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก
สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.       สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2.       สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น



วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับระบบโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำจนถึงมนุษย์ มีด้วยกันหลายหัวข้อ เช่น ระบบโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของสัตว์มีกระดูกสันหลัง กลไก การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น หัวข้อที่น่าสนใจและควรทำความเข้าใจมีได้ ดังนี้
1. การเคลื่อนไหวของอะมีบา (amoeboid movement) 
เกิดจากการแปรสภาพกลับไปมาของ เอ็กโทพลาซึม (ectoplasm) ซึ่งมีลักษณะข้นหนืด กับ เอนโดพลาซึม (endoplasm) ซึ่งมีลักษณะเหลวและไหลได้ โดยการหดและ คลายของเส้นใยโปรตีนในไซโทพลาซึม คือ ไมโครฟิลาเมนต์ (microfilament) ซึ่งประกอบด้วย 

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลืองกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

ในการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องมีการลำเลียงสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม   เช่น   อาหาร แก๊สออกซิเจน เข้าสู่ร่างกายและมีผลผลิตบางอย่าง เช่นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งร่างกายไม่ต้องการจะมีการลำเลียงออกสู่สิ่งแวดล้อม   เพื่อรักษาดุลภาพของร่างกายให้คงที่   ในหัวข้อนี้นักเรียนจะได้ศึกษาการลำเลียงสารในสิ่งมีชีวิตว่ามีความสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างไร สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของร่างกายต่างกัน   จะมีกระบวนการลำเลียงสารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
1   การลำเลียงสารในร่างกายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวของสัตว์
              
นักเรียนทราบมาแล้วว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เริ่มทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อเช่น ฟองน้ำ ไฮดรา และพลานาเลีย   สัตว์เหล่านี้เซลล์บริเวณผิวหนังจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง   การลำเลียงสารจึงเป็นการลำเลียงผ่านเซลล์โดยตรงซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  สัตว์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีขนาดใหญ่   เซลล์ที่อยู่ภายในร่างกายไม่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม   โดยตรงจำเป็นต้องมีระบบลำเลียงสาร
               

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย


การที่สิ่งมีชีวิตจะสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ในสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่อย่างปกติได้นั้น  สิ่งมีชีวิตต้องสามารถรักษาดุลยภาพของร่างกายไว้ให้ได้  การขับถ่ายเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาดุลยภาพของร่างกายเพราะภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ  เกิดขึ้นมากมาย   ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์  และบางชนิดไม่ต้องการ  จำเป็นต้องกำจัดออก  หรือมิฉะนั้นก็เปลี่ยนเป็นสารที่เป็นอันตรายน้อยลงแล้วกำจัดออกจากร่างกายภายหลัง  สารที่ร่างกายจำเป็นต้องกำจัดออกเหล่านี้เรียกว่า  ของเสีย
         
             1   การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
            
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำหรือมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก   ของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึมจะสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกสู่สิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งน้ำจืดจะสภาพเป็นไฮไพทนิก   เมื่อเปรียบเทียบกับความเข้มของสารภายในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว   น้ำจากสิ่งแวดล้อมจะแพร่เข้าสู่เซลล์มากกว่าแพร่ออกจากเซลล์   


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบหายใจกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

 ระบบหายใจกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
            นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการพลังงานสำหรับนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ  พลังงานเหล่านี้ได้มาจากการสลายโมเลกุลของสารอาหาร  โดยประมาณร้อยละ  90  ของพลังงานที่ได้นั้นมาจากการสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน  ซึ่งจะได้น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาด้วย  ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการหายใจเพื่อ นำแก๊สออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมและปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของร่างกายรวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยแตกต่างกันจะมีโครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ นักเรียนจะได้ศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้
            6.1.1โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์
            สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว  เช่น  อะมีบา  พารามีเซียม  เซลล์จะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำอยู่ตลอดเวลาจึงมีการแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์  ดังภาพที่ 6-1  สัตว์หลายเซลล์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในน้ำ  และยังไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด  เช่น  ฟองน้ำ  ไฮดรา  และหนอนตัวแบน  เซลล์แต่ละเซลล์จะแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรงเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ภาพที่ 6-1  การแลกเปลี่ยนแก๊สของพารามีเซียม


ภาพที่6-2  การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา และพลานาเรีย
อ่านเพิ่มเติม...