ในการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องมีการลำเลียงสารต่างๆ
จากสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร แก๊สออกซิเจน เข้าสู่ร่างกายและมีผลผลิตบางอย่าง
เช่นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งร่างกายไม่ต้องการจะมีการลำเลียงออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาดุลภาพของร่างกายให้คงที่ ในหัวข้อนี้นักเรียนจะได้ศึกษาการลำเลียงสารในสิ่งมีชีวิตว่ามีความสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างไร
สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของร่างกายต่างกัน จะมีกระบวนการลำเลียงสารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
1 การลำเลียงสารในร่างกายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวของสัตว์
นักเรียนทราบมาแล้วว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เริ่มทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อเช่น ฟองน้ำ ไฮดรา และพลานาเลีย สัตว์เหล่านี้เซลล์บริเวณผิวหนังจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง การลำเลียงสารจึงเป็นการลำเลียงผ่านเซลล์โดยตรงซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สัตว์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ เซลล์ที่อยู่ภายในร่างกายไม่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยตรงจำเป็นต้องมีระบบลำเลียงสาร
นักเรียนทราบมาแล้วว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เริ่มทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อเช่น ฟองน้ำ ไฮดรา และพลานาเลีย สัตว์เหล่านี้เซลล์บริเวณผิวหนังจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง การลำเลียงสารจึงเป็นการลำเลียงผ่านเซลล์โดยตรงซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สัตว์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ เซลล์ที่อยู่ภายในร่างกายไม่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยตรงจำเป็นต้องมีระบบลำเลียงสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น